ทนายภูวงษ์ โพธิ์ไทร ประธานเครือข่ายทนายความ

ทนายภูวงษ์ โพธิ์ไทร ประธานเครือข่ายทนายความ

เปิดหน้าต่อไป

วิธีเตรียมตัวไปสถานีตำรวจ

เตรียมตัวไปแจ้งความ

การเตรียมตัวไปสถานีตำรวจ
เตรียมตัวไปแจ้งความ
         1. เอกสารสำคัญที่ต้องนำติดตัวไป
         2. กรณีบัตรประจำตัวประชาชนหายหรือบัตรถูกทำลาย
         3. แจ้งความเอกสารสำคัญหาย
         4. แจ้งความคนหาย
         5. แจ้งความรถหรือเรือหาย
         6. แจ้งความอาวุธปืนหาย
         7. แจ้งความทรัพย์สินหรือของหาย
         8. แจ้งความถูกปลอมแปลงเอกสาร
         9. แจ้งความถูกฉ้อโกงทรัพย์
         10. แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์
         11. แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเช่าซื้อ
         12. แจ้งความทำให้เสียทรัพย์
         13. แจ้งความพรากผู้เยาว์
         14. แจ้งความถูกข่มขืนกระทำชำเรา
         15. แจ้งความถูกทำร้ายร่างกายและเหตุฆ่าคนตาย
         16. แจ้งความจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน
         17. แจ้งความหมิ่นประมาท
         18. แจ้งความถูกฉ้อโกงทรัพย์


การประกันตัวผู้ต้องหา (ชั้นตำรวจ)
สิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา

แจ้งความ

1 เอกสารสำคัญที่ต้องนำติดตัวไป
          (1) บัตรประตัวประชาชน หรือใบแทนฯ หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือหนังสือเดินทางสำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย
          (2) ในกรณีร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่นให้นำหลักฐานติดตัวไปด้วย คือ
                ใบสำคัญแสดงการเป็นตัวแทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ หรือ
                ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ (ตามคำสั่งศาล)
                ในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บไม่สามารถจัดการเองได้ ให้นำหลักฐานซึ่งแสดงว่าเป็นบุพพการีหรือผู้สืบสันดานหรือสามีหรือภรรยา (ซึ่งได้จดทะเบียน, สูติบัตร, ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ
                 ในกรณีที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคล ให้นำหนังสือมอบอำนาจของนิติบุคคลเป็นหลักฐาน รวมทั้งติดอากรแสตมป์ 5 บาทและหนังสือรับรองนิติบุคคลนั้นของกระทรวงพาณิชย์

2. กรณีบัตรประจำตัวประชาชนหายหรือบัตรถูกทำลาย
          (ก) เมื่อบัตรหายหรือถูกทำลาย ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานทะเบียนที่ประสงค์จะทำบัตร (ไม่ต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ)
          (ข) หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานทะเบียน
                    - สำเนาทะเบียนบ้าน
                    - เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้มีบัตร เช่นใบอนุญาตขับรถ ใบสุทธิ หนังสือเดินทาง (ถ้ามี) หากไม่มีให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านไปให้การรับรอง
          (ค) อายุบัตร
                    บัตรมีอายุใช้ได้ 6 ปี เมื่อบัตรหมดอายุ หรือหาย หรือถูกทำลายหรือชำรุด หรือเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหมดอายุ หรือหาย หรือถูกทำลาย หรือชำรุด หรือเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล เว้นแต่บัตรยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ให้ใช้ต่อไปได้ตลอดชีวิต
          (ง) สถานที่ทำบัตรประจำตัวประชาชน สามารถทำได้ที่ที่ว่าการอำเภอ และเทศบาลทั่วประเทศ
          (จ) ความผิด
          - ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้เมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
          - ไม่ยื่นคำขอมีบัตรภายในกำหนด หรือบัตรหายแล้วไม่ขอมีบัตรใหม่ภายในกำหนด
มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
          - บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด หรือบัตรหายแล้วไม่ขอมีบัตรใหม่ภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
          - เปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล แล้วไม่ของเปลี่ยนบัตรภายในกำหนด
มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
          - ผู้ไม่มีสัญชาติไทยผู้ใดยื่นคำขอมีบัตรโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือใช้บัตรซึ่งตนหมดสิทธิใช้
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท

3. แจ้งความเอกสารสำคัญหาย
เอกสารสำคัญ เช่น โฉนดที่ดิน, ใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว, ใบ ป.4 ฯลฯ มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
     (1)     ยื่นคำร้องแจ้งว่าเอกสารดังกล่าวหายต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่หาย
     (2)     เจ้าพนักงานตำรวจจะสอบสวนว่าหายจริงหรือไม่ แล้วลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
     (3)      เจ้าพนักงานตำรวจจะออกหลักฐานการแจ้งความเอกสารหายเพื่อให้ท่านนำไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

4. แจ้งความคนหาย
การแจ้งความคนหาย สามารถแจ้งได้ตลอดเวลา(ไม่จำเป็นต้องรอเวลาให้ครบ 24 ชั่วโมง)

หลักฐานที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลักจากที่ทราบว่าหาย คือ
          (1)      บัตรประจำตัวผู้หาย (ถ้ามี)
          (2)      สำเนาทะเบียนบ้านของผู้หาย (ถ้ามี)
          (3)      ภาพถ่ายคนหาย (ภาพถ่ายที่เป็นปัจจุบัน) (ถ้ามี)
ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา โทร. 080 775 2673

5. แจ้งความรถหรือเรือหาย
          แจ้งทาง 191 หรือแจ้ง 1192 แล้วนำหลักฐานไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
          (1)      บัตรประจำตัวประชาชนตัวผู้แจ้งความ ผู้แจ้งต้องเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทรัพย์ที่สูญหาย หรือผู้รับมอบอำนาจ
          (2)      ใบมอบอำนาจจากเจ้าของทรัพย์นั้นๆ (เจ้าของที่แท้จริง) พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท

          (3)      ภาพถ่ายทรัพย์สินที่หาย (ถ้ามี)
          (4)      ใบทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ หรือพาหนะอื่นๆ ที่หาย
          (5)      ใบเสร็จรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี
          (6)      ถ้ายานพาหนะดังกล่าวเป็นของนิติบุคคล เป็นตัวแทนห้างร้านบริษัท ผู้ไปแจ้งความควรมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของหรือผู้จัดการของห้างร้านบริษัทนั้นๆไป รวมทั้งหนังสือรับรองบริษัทด้วย

          (7)      หนังสือเกี่ยวกับการติดต่อหรือเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ (ถ้ามี)

          (8)      หนังสือคู่มือประจำตัวรถ หรือยานพาหนะ (เรือ) ที่ทางบริษัทห้างร้านจ่ายให้เป็นคู่มือ ถ้าไม่มีหนังสือคู่มือรถให้จำยี่ห้อ สี แบบ หมายเลขประจำตัวเครื่องตัวรถไปด้วย (ถ้ามี)

6. แจ้งความอาวุธปืนหาย

          (1)      ทะเบียนใบอนุญาตอาวุธปืน

          (2)      ใบเสร็จรับเงินที่บริษัทห้างร้านขายปืนออกให้ (ถ้ามี)

7. แจ้งความทรัพย์สินหรือของหาย

          (1)      บัตรประจำตัวผู้แจ้งความ       ผู้แจ้งต้องเป็นเจ้าของที่แท้จริงของทรัพย์ที่สูญหาย หรือผู้รับมอบอำนาจ
          (2)      ใบมอบอำนาจจากเจ้าของทรัพย์นั้นๆ (เจ้าของที่แท้จริง) พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท

          (3)      ใบเสร็จรับเงินซื้อขาย หรือหลักฐานการแสดงการซื้อขายทรัพย์นั้น

          (4)      รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ เช่น หมายเลขเครื่อง ฯลฯ (ถ้ามี)

          (5)      ภาพถ่ายทรัพย์สินที่สูญหาย

          (6)      ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ
          (7)      เอกสารสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องเท่าที่มี
ในกรณีลักทรัพย์ในบ้านเรือนหรือสำนักงาน ให้รักษาร่องรอยหลักฐานในที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของในที่เกิดเหตุจนกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไปถึง

8. แจ้งความถูกปลอมแปลงเอกสาร

          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน

          (2)      ใบสำคัญตัวจริง เช่น โฉนด แบบ น.ส. 3 แบบ ส.ค.1 หนังสือสัญญา ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น

          (3)      หนังสือที่ปลอมแปลง

          (4)      ตัวอย่างตราที่ใช้ประทับหรือลายเซ็นในหนังสือ (ถ้ามี)

9. แจ้งความถูกฉ้อโกงทรัพย์
          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน

          (2)      หนังสือหรือหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวกับการถูกฉ้อโกง

          (3)      หลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์

10. แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์

          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน

          (2)      หนังสือสำคัญหรือหลักฐานที่แสดงว่าได้มีการมอบหมายทรัพย์ให้ไปจัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง

          (3)      ใบสำคัญแสดงการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน

11. แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเช่าซื้อ

          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน

          (2)      สัญญาใบเช่าซื้อหรือสำเนา หรือใบสำคัญติดต่อซื้อ ขาย เช่า ยืม หรือฝาก

          (3)      ใบสำคัญที่บริษัท ห้างร้าน ออกให้โดยระบุรูปพรรณ ยี่ห้อ สี ขนาด น้ำหนัก และเลขหมายประจำตัวทรัพย์นั้น

 

12. แจ้งความทำให้เสียทรัพย์

          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน       

          (2)      หลักฐานต่างๆ แสดงการเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์นั้น

          (3)      หลักฐานหรือสิ่งของที่เสียหายเท่าที่มีหรือเท่าที่นำไปได้

          (4)      หากเป็นของชิ้นใหญ่ หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งไม่สามารถนำติดตัวไปได้ให้เก็บรักษาไว้อย่าให้เกิดการเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม หรือจัดให้คนเฝ้ารักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป

13. แจ้งความพรากผู้เยาว์
          (1)      บิดา มารดา หรือผู้ปกครองผู้เยาว์เป็นผู้แจ้ง

          (2)      สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์

          (3)      รูปถ่ายของผู้เยาว์

14. แจ้งความถูกข่มขืนกระทำชำเรา

          (1)      ผู้เสียหาย บิดา มารดา เป็นผู้แจ้ง

          (2)      เสื้อผ้าของผู้ที่ถูกข่มขืนฯ ซึ่งมีคราบอสุจิหรือรอยเปื้อนอย่างอื่นอันเกิดจากการข่มขืนและสิ่งของต่างๆของผู้ต้องหาที่ตกอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ

          (3)      บัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้เสียหาย

15. แจ้งความถูกทำร้ายร่างกายและเหตุฆ่าคนตาย

          (1)      ให้ดูแลรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆให้ที่เกิดเหตุ จนกว่าพนักงานตำรวจจะไปถึงที่เกิดเหตุ

          (2)      เมื่อพบ มีด ไม้ ปืน ของมีคม หรืออาวุธที่คนร้ายทิ้งไว้ในสถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนพยานหลักฐานต่างๆ ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุหากปล่อยทิ้งไว้จะสูญหายหรือเสียหายให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ

          (3)      รายละเอียดต่างๆ เท่าที่สามารถบอกให้เจ้าพนักงานตำรวจได้ทราบ

16. แจ้งความจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน

          (1)      บัตรประจำตัวประชาชน
          (2)      เช็คที่ยึดไว้
          (3)      หนังสือที่ธนาคารแจ้งขัดข้องหรือปฏิเสธการจ่ายเงิน
          (4)      หลักฐานหรือเอกสารซึ่งเป็นมูลหนี้ แหล่งที่มาของการจ่ายเช็ค เช่น หนังสือสัญญาซื้อขาย ฯลฯ

17. แจ้งความหมิ่นประมาท
          (1) บัตรประจำตัวประชาชน
          (2) ข้อความสนทนาผ่านแอพพลีเคชันที่คุณคิดว่าเป็นการหมิ่นประมาท

18. แจ้งความถูกฉ้อโกงทรัพย์

          (1) บัตรประจำตัวประชาชน
          (2) บัญชีเงินฝากธนาคารที่โอนเงินให้กับคนร้าย
          (3) รายการสนทนากับคนร้ายผ่านแอพพลีเคชันที่ใช้
          (4) ภาพถ่ายสลิปการโอนเงินให้กับคนร้าย
          (5) ควรแจ้งความแบบออนไลน์กับตำรวจไซเบอร์ ที่เวปไซต์  www.thaipoliceonline.com

คอลเซ็นเตอร์ ตำรวจ 191

คอลเซ็นเตอร์ ตำรวจ 191

เตรียมพร้อมไปพบพนักงานสอบสวน

  • เตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อม ไม่ต้องกังวลใจ 
  • เตรียมเอกสารส่วนตัวให้พร้อม เช่นบัตรประจำตัวประชาชน พยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคดีที่คุณจะไปพบพนักงานสอบสวน
  • กรณีมีหมายเรียก ดูหมายเรียกว่าทาจากสถานีตำรวจอะไร ให้ไปพบใคร วัน เวลาใหน ลงตารางนัดในมือถือ สมุดนัดเพื่อเตือนความจำ
  • กรณีหมายเรียกคุณไปเป็นพยาน ให้สอบถามพนักงานสอบสวน หรือไม่ก็ให้ส่งคำถามที่ต้องการจะสอบคำให้การของเรามาทำการบ้านก่อนไปพบพนักงานสอบสวนครับ
  • ไม่ว่าง ไม่สะดวกไป ขอเลื่อนนัดไปก่อนโดยโทรหาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระบุชื่อในหมายเรียก กำหนดวันนัดใหม่
  • กรณีอยู่ไกล ไม่สะดวกเดินทาง แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าเราไม่สะดวดในการเดินทาง ให้ส่งหรือมอบหมายให้พนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจใกล้บ้านเป็นผู้สอบสวนแทนได้
  • กรณีไม่สบายใจ วิตก กังวล โทรปรึกษาทนายความเพื่อไปพบพนักงานสอบสวนด้วยกันกับคุณ (ค่าจ้างทนายครั้งละ 3-5000 บาทต่อครั้งที่ไปกับคุณ
  • กรณีไปพบพนักงานสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา ควรมีทนายความไปด้วยเสมอ เพราะเป็นการดำเนินคดีที่มีโทษทางอาญา ทนายความจะให้คำแนะนำถึงขั้นตอนต่างๆในกระบวนการสอบสวน
  • เมื่อได้รับหมายเรียกให้พบพนักงานสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา คุณควรจะเตรียมพยานหลักฐานให้พร้อมให้การต่อสู้คดี อย่าให้การเพียงแค่ “ขอให้การในขั้นศาล” เพราะคุณจะเสียโอกาสในการต่อสู้คดี
  • ร้องขอความเป็นธรรมสำคัญมั้ย สำคัญครับเพราะเป็นการเปิดประเด็นให้กับพนักงานสอบสวนได้รู้และเรียกพยานที่เกี่ยวข้องมาสอบสวน เพราะพนักงานสอบสวนสามารถมีความเห็นในทางคดีสั่งไม่ฟ้องก็ได้
  • ประสานงานกับพนักงานสอบสวน ขอเบอร์มือถือพนักงานสอบสวน เบอร์มือถือผู้กำกับการสถานตำรวจนั้นๆ ขอเบอร์สถานีตำรวจไว้ด้วย

สถานีตำรวจนครบาลกรุงเทพมหานคร

สถานีตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร
สถานีตำรวจนครบาลพญาไท0-2246-8301-2, 246-1201, 246-1196-9, 246-1200

สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม0-2282-2323 (12 หมายเลข)

สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง 0-2281-3002, 282-5105

สถานีตำรวจนครบาลมักกะสัน 0-2318-1821-2

สถานีตำรวจนครบาลสามเสน 0-2241-1946, 241-1257, 241-1416, 241-1713, 241-1664

สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง 0-2277-0630, 277-4493, 276-1447

สถานีตำรวจนครบาลดุสิต 0-2241-5043-4, 241-2362, 241-3050, 241-3364, 241-5356

สถานีตำรวจนครบาลบางโพ 0-2585-0638, 585-7460

สถานีตำรวจนครบาลดินแดง 0-2246-7706-9

สถานีตำรวจนครบาลโคกคราม 0-2509-0377, 509-0666, 509-0969, 509-0977

สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร 0-2275-2151-6, 275-9185-6, 275-9125-6, 277-4494

สถานีตำรวจนครบาลสายไหม 0-2533-7363, 533-7357, 531-4167, 531-7580, 533-7357

สถานีตำรวจนครบาลคันนายาว 0-2510-3612-22

สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน 0-2585-1648-9, 585-2663, 585-7486, 858-6104, 587-0461-5

สถานีตำรวจนครบาลบางเขน 0-2521-2230, 521-0569, 521-2231, 521-1193

สถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น 0-2588-4246-9

สถานีตำรวจนครบาลทุ่งสองห้อง 0-2576-1931-8

สถานีตำรวจนครบาลบางซื่อ 0-2278-2130, 278-4086, 279-1500, 278-5297, 279-3764

สถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน 0-2512-2447-9

สถานีตำรวจนครบาลดอนเมือง 0-2566-1381-2

สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี 0-2543-7311-3

สถานีตำรวจนครบาลหนองจอก 0-2543-1155-7

สถานีตำรวจนครบาลลาดกระบัง 0-2326-8392, 326-9159, 326-9992

สถานีตำรวจนครบาลร่มเกล้า 0-2916-3390-4

สถานีตำรวจนครบาลฉลองกรุง 0-2737-4836-37, 737-4839-40

สถานีตำรวจนครบาลจรเข้น้อย 0-2326-9056, 326-9991

สถานีตำรวจนครบาลนิมิตรใหม่ 0-2543-7028-9

สถานีตำรวจนครบาลลำหิน 0-2988-6622, 988-6633

สถานีตำรวจนครบาลลำผักชี 0-2543-1086-7, 543-1744

สถานีตำรวจนครบาลสุวินทวงศ์ 0-2988-2460-1

สถานีตำรวจนครบาลประชาสำราญ 0-2543-1990

สถานีตำรวจนครบาลหัวหมาก 0-2314-0965, 314-0696, 314-0030, 314-0955, 314-3340-1

สถานีตำรวจนครบาลบึงกุ่ม 0-2517-8515, 517-8535, 517-8078, 517-6976, 517-9529

สถานีตำรวจนครบาลลาดพร้าว 0-2375-5405, 733-7580, 377-7243-5

สถานีตำรวจนครบาลประเวศ 0-2321-2234, 321-6035, 322-0877, 322-9596-7

สถานีตำรวจนครบาลอุดุมสุข 0-2337-5544-6

สถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง 0-2539-0171

สถานีตำรวจนครบาลบางชัน 0-2518-1510-2

สถานีตำรวจนครบาลโชคชัย 0-2538-3897, 538-7154, 538-1599, 538-1613

สถานีตำรวจนครบาลวัดพระยาไกร 0-2291-5867-72

สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี 0-2255-5993-5, 252-2280-1, 252-6905

สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ 0-2287-3004-6

สถานีตำรวจนครบาลบางโพงพาง 0-2286-1218, 286-8126, 286-1232-3

สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ 0-2390-2240-3

สถานีตำรวจนครบาลพระโขนง 0-2332-2361-3, 332-2365-6, 311-4013, 332-2403

สถานีตำรวจนครบาลบางนา 0-2396-1656-8, 393-7151, 396-0736, 393-8219

สถานีตำรวจนครบาลคลองตัน 0-2314-0041-3, 314-0035-7

สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 2 0-2226-2148-52

สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน 0-2215-2991-3, 214-1042, 214-1050

สถานีตำรวจนครบาลยานนาวา 0-2233-7148-9, 233-7296-7, 236-6937

สถานีตำรวจนครบาลบางรัก 0-2234-0242, 233-7420, 235-2824, 235-9123-4

สถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ 0-2221-0272, 221-9884, 222-1857, 223-4278, 226-2131-33

สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง 0-2224-5050, 224-9450, 226-2124-5

สถานีตำรวจนครบาลสำราญราษฎร์ 0-2226-2136-40

สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1 0-2221-1835, 226-2142-44, 224-2512, 224-2589

สถานีตำรวจนครบาลบางกอกน้อย 0-2411-3035-8, 411-3103, 412-9799, 418-0718

สถานีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่ 0-2465-0521, 465-0689, 465-5585

สถานีตำรวจนครบาลบางเสาธง 0-2410-8260-5

สถานีตำรวจนครบาลท่าพระ 0-2457-8662-4

สถานีตำรวจนครบาลบวรมงคล 0-2424-7725, 424-0881, 433-1696, 433-1707

สถานีตำรวจนครบาลบางพลัด 0-2424-1108, 424-9239, 424-3286, 423-0250

สถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขัน 0-2883-3502-9, 423-0251, 424-1440, 435-1757, 433-9595

สถานีตำรวจนครบาลตลิ่งชัน 0-2448-6360, 448-6480, 448-6621

สถานีตำรวจนครบาลธรรมศาลา 0-2441-3546-9

สถานีตำรวจนครบาลศาลาแดง 0-2421-1951

สถานีตำรวจนครบาลบางขุนนนท์ 0-2411-3408-10

สถานีตำรวจนครบาลบางยี่เรือ 0-2466-7557-9

สถานีตำรวจนครบาลตลาดพลู 0-2466-0343, 466-0603, 466-6947, 465-0022

สถานีตำรวจนครบาลบุปผาราม 0-2466-1150, 466-6155, 466-0574

สถานีตำรวจนครบาลสมเด็จเจ้าพระยา 0-2437-2164, 438-1030-2, 437-5410, 437-6653

สถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ 0-2468-0625, 468-0652, 460-1480, 480-1490, 468-5388

สถานีตำรวจนครบาลบุคคโล 0-2468-1639, 468-8003, 877-7737

สถานีตำรวจนครบาลราษฏร์บูรณะ 0-2427-7193, 428-3994, 427-6235, 428-3995, 428-7136

สถานีตำรวจนครบาลบางมด 0-2416-4711-2, 416-4713-4

สถานีตำรวจนครบาลทุ่งครุ 0-2426-1991, 426-1110, 426-1113

สถานีตำรวจนครบาลบางคอแหลม 0-2427-6286-9, 428-4538-9, 427-6286-7

สถานีตำรวจนครบาลปากคลองสาน 0-2437-2111, 437-1671, 437-1688, 438-1034-7

สถานีตำรวจนครบาลท่าข้าม 0-2416-7892-3, 416-2841-2, 415-1572

สถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน 0-2415-0671, 415-3004, 415-3475, 416-2737

สถานีตำรวจนครบาลภาษีเจริญ 0-2413-1114, 413-1660-2

สถานีตำรวจนครบาลหลักสอง 0-2421-7925-7

สถานีตำรวจนครบาลหนองแขม 0-2429-3103, 429-4167, 429-3189, 429-3568, 429-3570-2

สถานีตำรวจนครบาลเพชรเกษม 0-2455-1718-9, 801-7035-6

สถานีตำรวจนครบาลบางบอน 0-2892-4270-5

สถานีตำรวจนครบาลหนองค้างพลู 0-2445-2980-5

สถานีตำรวจนครบาลแสมดำ 0-2451-3617-8

สถานีตำรวจนครบาลเทียนทะเล 0-2897-32171-3, 897-3275-7

การตั้งค่าคุกกี้
ไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ในการท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้น
คุณสามารถยอมรับคุกกี้ทั้งหมดหรือเลือกประเภทของคุกกี้ที่คุณยินดีอนุญาต
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
เลือกคุกกี้ที่คุณต้องการอนุญาตในขณะที่คุณเรียกดูเว็บไซต์นี้ โปรดทราบว่าคุกกี้บางตัวไม่สามารถปิดได้ เนื่องจากหากไม่มีคุกกี้ เว็บไซต์จะไม่ทำงาน
ความสำคัญ
เพื่อป้องกันสแปม ไซต์นี้ใช้ Google Recaptcha ในแบบฟอร์มการติดต่อ

ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้สำหรับอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินซึ่งจำเป็นสำหรับเว็บไซต์เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
บริการของ Google
ไซต์นี้ใช้คุกกี้จาก Google เพื่อเข้าถึงข้อมูล เช่น หน้าที่คุณเยี่ยมชมและที่อยู่ IP ของคุณ บริการของ Google บนเว็บไซต์นี้อาจรวมถึง:

- Google Maps
- Google Font
ข้อมูล
ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าชม ติดตามการแปลงโฆษณา และสร้างผู้ชม รวมถึงจาก:

- Google Analytics
- เครื่องมือวัด Conversion ของ Google Ads
- Facebook (Meta Pixel)